แพทย์ปริญญาที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามกฎหมายในท้องถิ่นที่ให้บริการ ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียน มีความเชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิพิเศษเฉพาะทางตามที่ระบุไว้ในคำนิยามของโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องนั้นๆ
โรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองสำหรับสัญญาเพิ่มเติมนี้
1. โรคมะเร็ง (Cancer) (คุ้มครองมะเร็งทุกระยะ)
หมายถึง การเกิดขึ้นของเนื้องอกหรือเซลล์ที่ได้รับการตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็ง
ทั้งนี้ ไม่รวมถึง
1. มะเร็งผิวหนังทุกชนิด (Any Skin Cancers) ยกเว้นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดร้ายแรง (Malignant Melanoma)
2. กลุ่มเนื้องอกชนิด Borderline หรือ กลุ่มเนื้องอกที่มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อย (Low Malignant Potential) ยกเว้น กลุ่มเนื้องอกชนิด Borderline Tumor (Low malignant potential) ของรังไข่
3. เนื้องอกที่ผลทางพยาธิวิทยาจัดเป็นเนื้องอกระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Pre-Malignant) เช่น CIN I CIN II CIN III
4. มะเร็งในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี
2. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
หมายถึง การเกิดความบกพร่องทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลัน อันมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมองอันเนื่องมาจากการอุดตัน (Cerebral Thrombosis) หรือการแตก (Intracerebral Haemorrhage) หรือการอุดตันโดยลิ่มเลือดจากหัวใจหรือหลอดเลือดนอกกะโหลกศีรษะ (Extracranial Embolism) การวินิจฉัยต้องยืนยันด้วยการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงใหม่ของภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือภาพคลื่นแม่เหล็ก (MRI)
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงโรคเนื้อเยื่อสมองขาดเลือด (Infarction) หรือเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
อันเนื่องจากการได้รับการบาดเจ็บภายนอกและโรคสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack หรือ Reversible Ischemic Neurological Deficit)
3. โรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือดบริเวณคอ (Stroke Treatment by Carotid Angioplasty and Stent Placement)
หมายถึง การใส่สายสวนเข้าทางเส้นเลือดแดง และใส่อุปกรณ์ค้ำหลอดเลือด (Stent) ในเส้นเลือด Carotid Artery เพื่อการรักษาหรือป้องกันผู้เอาประกันภัยที่เคยได้รับการวินิจฉัยภาวะโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดมาก่อน ซึ่งต้องกระทำภายใต้ข้อบ่งชี้ทางเวชปฏิบัติมาตรฐานปัจจุบันโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตในสาขาที่เหมาะสม
4. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด (Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery)
หมายถึง การเข้ารับการผ่าตัดสมองด้วยวิธีการเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniotomy) เพื่อหนีบ ซ่อมแซม หรือนำเส้นโลหิตแดงส่วนที่โป่งพอง (Aneurysm) ออก การวินิจฉัยต้องยืนยันด้วยเทคนิคการถ่ายภาพที่เหมาะสมของหลอดเลือดสมอง และต้องได้รับการรักษาโดยประสาทศัลยแพทย์ (Neurosurgeon)
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการโป่งพองของหลอดเลือดสมองจากการติดเชื้อใด ๆ (Infection and Microtic aneurysm) การรักษาเส้นโลหิตแดงของสมองที่โป่งพองโดยวิธีใช้สายสวนทางหลอดเลือดเพื่อทำการรักษา การรักษาด้วยการตัดกะโหลกแบบจำกัด (Craniectomy) และการเจาะรูที่กะโหลก (Burr hole)
5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)
หมายถึง การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน โดยมีลักษณะครบทั้ง 3 ข้อดังนี้
(1) มีประวัติการเจ็บหน้าอกซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของหัวใจขาดเลือด
(2) มีการเพิ่มขึ้นของ Cardiac Troponin (T or I อย่างน้อย 3 เท่าของค่าปกติของคนทั่วไป หรือ มีการเพิ่มขึ้นของ CKMB อย่างน้อย 2 เท่าของค่าปกติของคนทั่วไป)
(3) มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เกิดขึ้นใหม่และมีลักษณะจำเพาะสำหรับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันครั้งแรก หรือการตรวจทางรังสี หรือการตรวจอื่นๆ ที่เป็นมาตรฐานทางการแพทย์สำหรับการวินิจฉัย โรคหัวใจ ซึ่งแสดงว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันครั้งแรก
6. การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-pass Surgery) หมายถึง การผ่าตัดโดยการเปิดเข้าทางทรวงอก เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน โดยการตัดต่อเส้นเลือดใหม่ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการขยายเส้นเลือดกล้ามเนื้อหัวใจที่อุดตัน โดยวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจ (Angioplasty), การใส่อุปกรณ์ค้ำหลอดเลือดหัวใจ (Stent Insertion), เลเซอร์ (Laser) หรือหัตถการอื่นๆ ที่ทำในหลอดเลือดแดงหัวใจ (Other Intra-arterial procedures)
7. การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Surgery to Aorta) หมายถึง การเข้ารับการผ่าตัดใหญ่แบบเปิดหน้าอกหรือช่องท้องเพื่อซ่อมแซมหรือแก้ไขหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Aorta) บริเวณทรวงอกและช่องท้อง โดยใช้กราฟท์ (Graft) อันเนื่อง มาจากผนังหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ตีบ อุดตัน หรือผนังด้านในแยกตัวออก (Aortic Dissection) ทั้งนี้หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า หมายความถึง หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าระดับอกและช่องท้องเท่านั้น ไม่รวมถึงแขนงต่างๆ ของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการผ่าตัดขนาดเล็ก (Minimally Invasive Surgery) หรือการใช้สายสวนเข้าสู่หลอดเลือดแดง (Intra Arterial Techniques)
8. การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ (Open Heart Surgery for the Heart Valve) หมายถึง การผ่าตัดเปิดหัวใจ (Open Heart Surgery) เพื่อเปลี่ยนหรือซ่อมแซมลิ้นหัวใจ อันมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการทำงานของลิ้นหัวใจ แต่ไม่รวมถึงการทำบอลลูน (Balloon) การใช้สายสวน (Catheter Techniques) หรือหัตถการที่ทำผ่านหลอดเลือดแดง (Intra-arterial procedures)
9. โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ (Primary Pulmonary Arterial Hypertension)
หมายถึง โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงโดยหาสาเหตุไม่ได้ เป็นเหตุให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจด้านขวาล่างขยายขนาดขึ้น ซึ่งตรวจวินิจฉัยโดยอายุรแพทย์โรคหัวใจ (Cardiologist) พร้อมหลักฐานการตรวจพบโดยการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) ความผิดปกตินี้เป็นผลให้มีความผิดปกติของหัวใจถึงระดับ 4 อย่างถาวร ตาม The New York Heart Association (NYHA) Functional Classification
10. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation) หมายถึง การได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ หรือปลูกถ่ายไขกระดูกในฐานะผู้รับ (Recipient) ดังต่อไปนี้
(1) อวัยวะในที่นี้หมายถึงเฉพาะหัวใจ ปอด ตับ ไต ตับอ่อน โดยมีสาเหตุจากการที่อวัยวะนั้นอยู่ในระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถกลับมาทำงานได้ดังเดิม หรือ
(2) การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยการใช้ Haematopoietic stem cells ภายหลังการ ทำ Bone Marrow Ablation
ทั้งนี้ไม่รวมถึงการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์อื่นๆ และการปลูกถ่ายอวัยวะเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
โรคร้ายแรงสำหรับเด็กที่ให้ความคุ้มครองในสัญญาเพิ่มเติมนี้
1. โรคเบาหวานในเด็ก ชนิดที่ 1 (Juvenile Diabetes Mellitus Type 1)
หมายถึง โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นที่เกิดจากเซลล์เบต้าของตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดอินซูลินเท่านั้น ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการกระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย (polydipsia) การปัสสาวะบ่อย (polyuria) อยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักลดลง ระดับอินซูลินในเลือดต่ำ มีภาวะเลือดเป็นกรดในบางครั้ง โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ภายใต้เงื่อนไข 2 ข้อดังต่อไปนี้
(1) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่อมไร้ท่อ และ
(2) ระหว่างการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังจากได้รับการวินิจฉัย จะต้องได้รับการฉีดอินซูลินเป็นประจำทุกวัน เพื่อควบคุมการเผาผลาญของน้ำตาลกลูโคส ทั้งนี้ ไม่คุ้มครองโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type II DM)
2. โรคคาวาซากิ (Kawasaki Diseases)
หมายถึง โรคในเด็กที่เกิดอย่างเฉียบพลัน มีไข้สูง ร่วมกับโรคหลายระบบ คือ มีการอักเสบของหลอดเลือดแดงขนาดกลางทั่วร่างกาย รวมถึงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตและอักเสบโดยไม่มีหนอง มีผื่นที่เยื่อบุและผิวหนัง การวินิจฉัยต้องได้รับการยืนยันจากกุมารแพทย์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ และผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง พบหลอดเลือดหัวใจโป่งพองโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 5 มิลลิเมตร หลังจากการป่วยเฉียบพลัน
3. ไข้รูห์มาติกและลิ้นหัวใจรั่ว (Rheumatic Fever with Valvular Impairment)
หมายถึง ไข้รูห์มาติกเฉียบพลันที่ได้รับการยืนยันจากกุมารแพทย์ตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ Jones criteria ฉบับปรับปรุงใหม่
โดยมีความเสียหายของลิ้นหัวใจตั้งแต่หนึ่งลิ้นขึ้นไปอันเนื่องมาจากไข้รูห์มาติก
ซึ่งต้องได้รับการยืนยันจากการตรวจสอบการทำงานของลิ้นหัวใจเชิงปริมาณโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคหัวใจ
4. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
หมายถึง โรคติดเชื้อจากสุนัข แมว และสัตว์อื่นๆ ที่สามารถแพร่สู่คนผ่านการกัดจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งจะต้องแสดงหลักฐานของอาการดังต่อไปนี้
1) มีอาการกลืนลำบาก มีน้ำลายปริมาณมาก กลัวน้ำ และเกิดภาพหลอน และ
2) ตรวจพบสารกระตุ้นแอนติบอดี้ของไวรัสพิษสุนัขบ้า หรือ แอนติบอดี้ไวรัสพิษสุนัขบ้าในน้ำไขสันหลัง (CSF)
การวินิจฉัยจะต้องได้รับการรับรองโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง
สัญญาเพิ่มเติมฯ โรคร้ายโซชิลด์ สามารถใช้สิทธิ์ Cashless ได้
โดยในการเคลมครั้งแรกบริษัทจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ซึ่งหากลูกค้าป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ตรงตามเงื่อนไขและคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้ ลูกค้าจะไม่ต้องสำรองจ่ายเอง และหลังจากนั้นหากเป็นการรักษาพยาบาลที่เป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากโรคร้ายแรงครั้งแรกลูกค้าสามารถใช้ใช้สิทธิ์ Cashless ได้ทันที
ไม่ได้ เนื่องจากสัญญาเพิ่มเติมฯ โรคร้ายโซชิลด์ ไม่คุ้มครองกรณีฉุกเฉินในต่างประเทศ
สามารถเคลมได้ โดยลูกค้านำส่งเอกสารหลักฐานตามที่บริษัทกำหนด เพื่อแสดงถึงการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลจากโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมและบันทึกสลักหลังฯนี้ และวันที่เข้าพักรักษาตัวดังกล่าวต้องพ้นระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period)
ตัวอย่าง ผลประโยชน์อื่นๆ ที่สามารถนำมาเคลมได้
• ผลประโยชน์สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูร่างกายหลังการรักษาโรคร้ายแรง (Cis Care recovery benefit) จ่ายเพียงครั้งเดียวตลอดสัญญาประกันภัย (สำหรับแผน M, L, XL เท่านั้น)
• OPD Telemedicine จากการป่วยทุกโรค (สำหรับแผน M, L, XL เท่านั้น)
• ค่ารักษาด้านจิตเวช สำหรับกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (สำหรับแผน M, L, XL เท่านั้น)
สามารถทำได้ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องมีการส่งเอกสาร เพื่อพิสูจน์ว่าผู้เอาประกันภัยได้เข้ารับการรักษาตัวตรงตามเงื่อนไขความคุ้มครองของแบบประกันโรคร้ายโซชิลด์
โรคร้ายโซชิลด์ให้ความคุ้มครอง กรณีผู้ป่วยนอกดังกล่าว (โดยไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของ รพ.)
•กรณีการรักษาแบบรังสีรักษา จะให้คุ้มครองตามผลประโยชน์หมวดที่ 10 และ
•กรณีการรักษาแบบเคมีบำบัด จะให้คุ้มครองตามผลประโยชน์หมวดที่ 11
ความคุ้มครอง OPD Telemedicine ภายใต้สัญญาเพิ่มเติมฯ โรคร้ายโซชิลด์ สามารถใช้สิทธิ์ Cashless ได้ ตั้งแต่การเคลมครั้งแรก ลูกค้าจะไม่ต้องสำรองจ่ายเอง เนื่องจากผลประโยชน์นี้จะคุ้มครองหลังจากที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจากโรคร้ายแรง ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่าลูกค้าป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ตรงตามเงื่อนไขและคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้ (ทั้งนี้การใช้บริการผ่าน OPD Telemedicine จะขึ้นอยู่กับการวิจาณญาณของแพทย์ เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการ)
Pre-Claim และการบริการ
โรงพยาบาลรัฐ / โรงเรียนแพทย์ในเครือข่าย