เงื่อนไขการต่ออายุสัญญา
เป็นไปตามมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
เงื่อนไขการต่ออายุสัญญา
เป็นไปตามมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
แบบที่ 1 ต่อสัญญาชัวร์ แต่บริษัทฯ มีสิทธิพิจารณายกเลิกสัญญา
ถ้าทำผิดเงื่อนไขที่กำหนด 3 ข้อ นั่นคือ
1. ปกปิดข้อมูลโรคหรืออาการป่วย ทั้งก่อนทำประกันและตอนต่อสัญญา
2. มีการรักษาพยาบาลที่ไม่ตรงตามความจำเป็นทางการแพทย์
3. เรียกร้องค่าชดเชยรายได้มากเกินจริง จากการนอนโรงพยาบาล
แบบที่ 2 ต่อสัญญาชัวร์ แต่บริษัทฯ อาจพิจารณาขอปรับเป็นแบบให้ผู้เอาประกันภัยมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ไม่เกิน 50%
ถ้ามีการเรียกร้องสินไหม หรือเคลมเกินวงเงินที่กำหนดไว้
แบบที่ 3 ต่อสัญญาชัวร์ แต่บริษัทฯ อาจพิจารณาเพิ่มเบี้ยเฉพาะบุคคลได้
ถ้าบริษัทฯ เห็นว่ามีการเรียกร้องสินไหม หรือเคลมมากเกินวงเงินกำหนด
แบบที่ 4 ไม่การันตีต่อสัญญา ต้องลองพิจารณากันปีต่อปี
การต่ออายุทั้ง 4 แบบ บริษัทฯ สงวนสิทธิการปรับค่าเบี้ยประกัน ซึ่งอาจมีการพิจารณาจากประวัติค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล หรือ
การเรียกร้องสินไหมที่สูงโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์
ทั้งนี้ การปรับเบี้ยจะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และบริษัท ฯ จะทำการแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิต
คปภ. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
10 ธันวาคม 2023 ·
บางครั้งที่เราอาจเคยได้ยินว่า “เจอประกันภัยโดนบอกเลิกสัญญา” “บริษัทใช้สิทธิ์บอกล้างสัญญาประกันภัยได้ไหม”
เราลองมาดูตัวอย่างของเคส ๆ หนึ่งกันดีกว่าค่ะ ว่า การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตสาเหตุมันเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
Case Study
👨🦱 นาย H ทําประกันชีวิตไว้กับบริษัท ก ต่อมานาย H เสียชีวิตลง บริษัทพบว่าก่อนที่นาย H จะทําประกันชีวิต เขาตรวจพบมีการอักเสบของตับ ตามรายงานแพทย์ได้แนะนําให้เขารับการวินิจฉัยต่อไป
แต่ในการขอเอาประกันภัยนาย H แจ้งว่าไม่ได้ป่วยเป็นโรคตับ จะถือว่านาย H ปกปิดข้อเท็จจริงและสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ
แล้วแบบนี้บริษัท ก ใช้สิทธิ์บอกล้างสัญญาได้หรือไม่ ?
ข้อกฎหมาย
มาดูกันนะคะ จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
ถ้าในเวลาทําสัญญาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จ กล่าวคือ ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือ ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัยบอกปัดไม่ยอมทําสัญญา ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
บอกก่อนนะคะ โมฆียะกับโมฆะ ความหมายไม่เหมือนกันนะ อย่าจำสับสน
โมฆียะ คือ สิ่งที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง
นิติกรรมใดก็ตามหากมีการบอกล้างนิติกรรมนั้น ๆ ก็จะถือเป็นโมฆะค่ะ
📣 จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ตามหลักสุจริตอย่างยิ่งของผู้เอาประกันภัยในเวลาทําสัญญา หากผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จ ผลสัญญาถึงจะเป็นโมฆียะ
ตามรายงานแพทย์ได้แนะนําให้ได้รับการวินิจฉัยต่อไป แสดงว่ายังไม่แน่ชัดว่าคุณ H ป่วยเป็นโรคตับอักเสบหรือไม่ จึงมิใช่กรณีที่ คุณ H รู้อยู่แล้วแต่ไม่ได้เปิดเผยข้อความจริง
สัญญาประกันชีวิตดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะ บริษัทไม่มีสิทธิ์บอกล้างค่ะ เพราะการอ้างว่าผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแถลงเท็จ ข้อเท็จจริงนั้นผู้เอาประกันภัยต้องรู้มาก่อนว่าตนป่วยด้วยโรคที่บริษัทจะบอกล้างสัญญาได้
เป็นไงกันบ้างคะ กับความรู้ของการบอกล้างสัญญาประกันชีวิตและหลักสุจริตอย่างยิ่งของผู้เอาประกันภัย บางคนอาจคิดว่าเรื่องประกันภัยอาจจะฟังดูทำความเข้าใจยากเพราะเป็นภาษากฎหมาย แต่ถ้าใครมีข้อสงสัยด้านประกันภัยก็สามารถติดต่อพวกเรา คปภ. ได้เลย พวกเราพร้อมให้ความรู้และช่วยทุกคนด้านประกันภัยค่ะ 😊